10ปีที่รอคอย 'ยานโรเซ็ตต้า' ไล่ตามดาวหาง 67P ทันแล้ว
องค์การอวกาศยุโรป เผยแพร่ภาพของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ที่ถ่ายจากยานสำรวจอวกาศ "โรเซ็ตต้า" หลังจากใช้เวลาเดินทางไล่ตามดาวหางนานถึง 10 ปี โดยภาพล่าสุดยานอยู่ห่างจากดาวหาง 80 ไมล์...
เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2557 องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA ได้เผยแพร่ภาพของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ที่ถ่ายจากยานสำรวจอวกาศ "โรเซ็ตต้า" (Rosetta) ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Onboard Scientific Imaging System (OSIRIS) โดยภาพได้แสดงถึงลักษณะพื้นผิวและขอบเขตของดาวหางปรากฎอย่างชัดเจน รวมทั้งพื้นผิวที่ขรุขระเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ภูเขา และร่องหน้าผา โดยภาพที่ยานส่งมานี้เป็นระยะหางจากยานถึงดาวหางประมาณ 80 ไมล์ หรือ 130 กม.ด้วยความละเอียดของภาพ 8 ฟุตต่อพิกเซล
ดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko
ยานอวกาศโรเซ็ตต้า เดินทางออกจากโลกเมื่อเดือน มี.ค.ปี 2004 หลังจากที่โคจรผ่านโลกและดาวอังคาร 3 รอบ เพื่อใช้แรงโน้มถ่วงเหวี่ยงยานเข้าสู่วงโคจรของดาวหาง และถ่ายภาพดาวหางอีก 2 ดวงในปี 2008 และปี 2010 ก่อนที่จะปิดระบบชั่วคราวเพื่อประหยัดพลังงานในเดือน ม.ย.ปี 2011 และมันถูกปลุกจากการหลับไหลที่นานหลายปี เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2014 เพื่อปฏิบัติการช่วงสุดท้ายหลังจากที่เดินทางมากว่า 10 ปีรวมระยะทางกว่า 4พันล้านไมล์ ในการไปถึงดาวหางและและเตรียมการที่จะปล่อยยานลูกชื่อว่า “พิลเลย์” ลงจอดบนดาวหางในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อสำรวจดาวหาง ที่ประกอบไปด้วยฝุ่นควันและน้ำแข็ง หวังไขความลับเกี่ยวกับการกำเนิดของดวงดาว ทั้งนี้มันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างชิ้นแรกที่เดินทางไปลงจอดบนดาวหาง
องค์การอวกาศยุโรป ทวิตภาพดาวหาง 67P แบบใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมีมาภาพยานโรเซ็ตตา ก่อนเข้าใกล้ดาวหาง 67P
ด้าน องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา ได้แถลงว่า บนยานโรเซ็ตตามีอุปกรณ์ทางทางสหรัฐนำไปติดตั้งไว้ด้วยได้แก่ เครื่องวัดคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Instrument for Rosetta Orbiter: MIRO), เครื่องวัดแถบรังสีอัลต้าไวโอเลต เรียวกว่า อลิส (ultraviolet spectrometer) Alice และเซ็นเซอร์ตรวจจับ ไอออน และ อิเล็กตรอน (IES) จากอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 11 รายการที่มีบนยาน.